Sus และ Add
หลายคนคงเห็นในเว็บคอร์ดเพลง หนังสือเพลง มันจะมีคอร์ดบางประเภท ที่ดูแล้วมักจะทำให้คนเล่นกีตาร์ใหม่ๆ มักจะงงว่าจะต้องทำยังไง นั่นคือพวกคอร์ดที่ตัวอักษรประหลาด และตามด้วยตัวเลข คำถามแรกที่เราจะต้องถามก็คือ จับยังไง แน่นอนมันก็ไม่ได้จับง่ายเท่าไร แล้วมันจำเป็นจะต้องจับไหม ถ้าให้ตอบแบบตรงไปตรงมาคือไม่ต้องก็ได้ ถ้าเราคิดจะเล่นในวงน้ำเมา วงสันทนาการเล็กๆ แต่ถ้าจะเติบโตไปเล่นในที่ๆ ใหญ่กว่านี้ คอร์ดเหล่านี้จะมีความจำเป็นอย่างมากในการสร้างสีสันให้กับตัวเพลง ยกตัวอย่างวงดนตรีหลายๆ วง เราจะเห็นว่าบางที เพลงของพวกเขาบางเพลง มีคอร์ดที่แทบจะเหมือนกัน แต่สิ่งที่ทำให้การเล่น เสียงคอร์ดที่ต่างออกไป ก็คือการเล่นคอร์ดบางแบบที่มีชื่อเรียกว่า Sus และ Add สองคอร์ดนี้จะทำให้ เสียงของการเล่นกีตาร์เปลี่ยนไป แต่จะเปลี่ยนไปได้ยังไง ลองมาดู
คำเตือน : คอร์ด ทั้ง 2 คอร์ด จะทำให้การจับคอร์ด ปกติแปลกออกไป นั่นก็หมายความว่ามันอาจจะยากขึ้นหรือง่ายขึ้นก็ได้ ปัญหาคือ เราต้องรู้ก่อนว่ามันจะสามารถทำหน้าที่อะไร และทำไมเสียงของคอร์ดเหล่านี้ถึงมีผลกับดนตรี และมันมีผลขนาดไหน
Ex.1 มารู้จัก Triad กันซะหน่อย
กฏง่ายๆ ของการสร้างคอร์ด ก็คือใช้โน้ต 3 ตัวขึ้นไปเล่นพร้อมกัน ก็จะได้คอร์ด คอร์ดนั้นไม่ว่าจะจับรูปแบบ หยึกยือ ขนาดไหน ฐานหลักของมันก็จะประกอบด้วยโน้ต 3 ตัวที่เรียกว่า Triad เช่นคอร์ด C จะประกอบด้วยโน้ต 3 ตัวคือ C-E-G หรือ Am จะประกอบด้วย A-C-E คอร์ดโดยปกติก็จะมี Triad แบบนี้
Ex.2 ความสัมพันธ์กับ Scale
และตัว Triad นั้นก็จะถูกดึงออกมาจากโน้ตใน Scale ให้มันอยู่ใน ลำดับ 1-3-5 นั่นเอง ใน 1 Scale Diatonic (พวก Major, minor) จะมีโน้ต 7 ตัว เรียงกันตามลำดับ และจะทบด้วยตัวเดิมวนไปในระดับเสียงที่สูงขึ้นเป็นหนึ่ง Octave ซึ่งจะเป็นโน้ตตัวที่ 8 และลำดับโน้ตจากนั้นจะเป็น 9-10-11-12 ไปเรื่อยๆ ซึ่งโน้ตที่อยู่ Octave สูงๆ จะอยู่ในสายกีตาร์ในเฟร็ตลึกๆ หรืออาจจะอยู่ในสาย 3 สาย 2 สาย 1
Ex.3 เมื่อเติมโน้ต เสียงสูง
เมื่อเติมโน้ตพวกที่สูงกว่าตัวที่ทบ เป็น Octave เราจะได้ตัวที่ 9 ตัวที่ 10 ตัวที่ 11 แต่เมื่อเวลาเล่นกับ Triad ตัวโน้ตสูงที่ซ้อนกับ Triad อย่างตัวที่ 8 10 12 14 15 จะถูกตัดออกไป เอาง่ายๆ เลยว่า คอร์ดที่มีเลขเยอะๆ จะเหลือแค่ 9 11 13 เท่านั้น
Sus และ Add
คราวนี้เรามาดูว่า ทั้ง 2 คอร์ดจะมีวิธีการใช้ยังไง
Ex.4 ตัดมันออกไป
หลักการของใช้คอร์ด Sus และ Add นั้นแทบจะคล้ายๆ กัน ก็คือมักจะตัดตัว ที่ 3 ออกจาก Triad ดังนั้นในรูปคอร์ด ทั้ง 2 นี้โน้ต ตัวที่ 3 มักจะไม่ถูกเล่น (ยกเว้นในบางกรณี) แล้วทำไมถึงไม่เล่นล่ะ ดูในตัวอย่าง ต่อไป
Ex.5 ตัดและเกลี่ย
หลักการของคอร์ด Sus ก็คือการตัดตัวที่ 3 ออกไป และจะแทนที่ด้วยตัวที่ 2 หรือ 4 ซึ่งเราจะได้เห็นบ่อยๆ สิ่งที่มักจะเล่นเป็นประจำ ก็คือ Sus 2 และ Sus 4 และคอร์ดเหล่านี้มักจะเล่นก่อนที่จะเข้าคอร์ดหลัก มักจะมี 2 คอร์ดเสมอเช่น Dsus4-D Dsus2-D เป็นต้น
Ex.6 เติมคอร์ดลงไป
คอร์ด Add คือการเติมโน้ตลงไปใน Triad เช่นตัว 9-11-13 โดยแทบไม่ต้องตัดโน้ตออก ปัญหาคือในเวลาเล่นจริงๆ เราไม่สามารถเติมได้ทุกตัวดังนั้นในทางปฏิบัติ มันจึงได้เสียงคอร์ดที่บางครั้งลักษณะเหมือน Sus แต่ว่า ไม่จำเป็นต้องเกลี่ยเข้าคอร์ดปกติ สามารถเล่นยืนพื้นได้เลย ลองดูในรูปคอร์ด E Add9 แบบ Full กับ E Add 9 แบบเล่น 3 ตัวจะเห็นว่าความยากต่างกันเยอะ
7.เล่นแล้วได้อะไร
โดยปกติคอร์ด 2 คอร์ดนี้เวลาเล่นจริงเสียงของตัวที่ 3 มักถูกตัดออก ซึ่งเสียงตัวที่ 3 เป็นเมโลดี้ที่ค่อนข้างให้อารมร์กลมกล่อม เสียงซอฟต์ เมื่อเล่นเมโลดี้ตัวที่ 3 บนคอร์ด Sus หรือ Add ก็จะทำให้เมโลดี้นั้นดูน่าสนใจมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้ในการเปลี่ยนคีย์ จาก Major เป็น minor ได้ หรือสามารถแตกไลน์ออกมาเป็นลูกโซโล่ได้ อีกด้วย นี่คือประโยชน์ของทั้ง 2 คอร์ด