Three Note Groupings (Snare Drum Accents)
พอเข้าเดือนมิถุนายน พวกเราก็ต้องเตรียมรับความเย็นฉ่ำจากฝน ซึ่งในปีนี้รู้สึกว่าจะเริ่มมาเร็วตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนเป็นต้นมา นับว่าเร็วกว่าปกติ ยังไงก็ขอให้ทุกคนระมัดระวังกับการเดินทางไปไหนมาไหน ไม่ว่าจะเดินทางไปเรียน ไปทำงาน หรือตลอดจนไปเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์ การเดินทางด้วยรถยนต์ก็ต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากฝนตกถนนก็ลื่น จึงอาจจะเกิดอุบัติเหตขึ้นได้ง่าย เรื่องของรถติดไม่ต้องพูดถึง เมื่อฝนตกรถก็ติดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ใครจะไปไหนก็ต้องเผื่อเวลาไว้ให้มากเป็นพิเศษ เพื่อจะได้มาตรงเวลา และก็ระวังเรื่องสุขภาพด้วยนะครับ
ในเล่มนี้จะพยายามหาอะไรที่มันไม่ยากจนเกินไป ก็เลยขออนุญาตนำโน้ตในหนังสือ The Total Jazz Drummer มาลงอีกครั้ง คราวนี้เป็นหัวข้อว่า Three Note Groupings ซึ่งเห็นแล้วน่าสนใจดี มีเรื่องของ Accent เข้ามาด้วย (เคยลงเรื่อง Accent ไปแล้วในเล่มก่อนๆ) Three Note ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงโน้ตสามพยางค์ (Triplet Note) เพียงอย่างเดียว แต่มันหมายถึงกลุ่มโน้ตที่พอเล่นออกมาแล้วเป็นกลุ่มของสามตัวที่ใช้ Accent เป็นตัวกำหนด เช่นถ้าเราใช้โน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น (Eighth Note) แต่เราใช้การเน้น(Accent) ให้เป็นกลุ่มสามจังหวะ ดังในตัวอย่างแรก จะสังเกตเห็นว่าการเน้นนั้นช่วยให้เกิดจังหวะใหม่ขึ้นมาในพื้นฐานของโน้ตเดิม (Eighth Note)
ส่วนในตัวอย่างที่สอง เป็นโน้ตสามพยางค์ (Triplet Note) ซึ่งมันจะลงตัวพอดี เพราะกลุ่มของโน้ตมีสามตัวในหนึ่งจังหวะ การเน้นก็ลงในจังหวะที่ 1, 2, 3, 4 พอดี และในตัวอย่างสุดท้ายเป็นโน้ตเขบ็ตสองชั้น (Sixteenth Note) ซึ่งก็จะคล้ายๆ กับโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้นคือพอเราใส่การเน้นลงไปให้เป็นกลุ่มของสามตัวโน้ต มันก็จะสร้างจังหวะขึ้นมาใหม่ ในโน้ตที่เป็นพื้นฐานเขบ็ตสองชั้นเดิม คือตีแล้วเหมือนมีโน้ตกลุ่มสามตัวซ่อนอยู่ในโน้ตเขบ็ตสองชั้น
ในลำดับมือที่ให้นั้นมี 10 แบบ ซึ่งผู้เล่นจะต้องฝึกทีละอย่างให้คล่องเสียก่อนเพราะรูปแบบมือบางข้อ พอนำมาเล่นแล้วอาจจะฝืนสักนิดและอย่าลืมเล่น Hi hat Pedal ด้วยเท้าซ้ายในจังหวะที่ 1, 2, 3, 4 เพราะในเล่มต่อไปจะให้เห็นว่าจะนำ Three Note Groupings ไปใช้ได้อย่างไรกับการเล่นอย่างอื่น สำหรับครั้งนี้พอแค่นี้ก่อนแล้วพบกันฉบับหน้าครับ สวัสดี
Stickings
- RLR LRL
- LRL RLR
- RLL
- LRR
- LLR
- RRL
- RLR RLR
- LRL LRL
- RRR LLL
- LLL RRR