บ้านของคอร์ด
วิธีการจำคอร์ด มีหลายวิธี หากเราอยากรู้คอร์ดกีตาร์ เราจะต้องทำยังไงบ้าง เราอาจจะหาคอร์ดในเน็ตแล้วจับตาม ซึ่งก็คงต้องทำแบบนั้น นั่นคือวิธีง่ายๆ ถ้าหากว่าเราหาเพียงคอร์ด 2 คอร์ด แต่ถ้าคอร์ดเป็นชุดๆ ล่ะ วิธีการจำคอร์ดและเล่นคอร์ด บางครั้งนอกจากเรื่องของการจำเสียงของคอร์ดแล้ว การให้มือของเราคุ้นเคยกับฟิงเกอร์บอร์ดและคอกีตาร์ก็เป็นจุดสำคัญในการเพิ่มความคล่องตัวในการเล่น เราจะสามารถจับคอร์ดแบบปุ๊ปปั๊บสไตล์ได้ง่ายมากขึ้น เราจะมีวิธีอะไรที่จะฝึกให้เล่นอะไรลักษณะนั้นได้ง่ายขึ้นบ้างล่ะ เราลองมาเล่นชุดคอร์ด 3-4 คอร์ด ให้อยู่ในบริเวณใกล้ๆ กัน สัก 3-4 เฟร็ต กันดีกว่า ด้วยวิธีนี้จะทำให้มือของเรา เคยชินกับการจับคอร์ดในรูปแบบที่ต่างกันออกไป ผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้คุณจับคอร์ดต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น และไม่ต้องพึ่งพาคอร์ดในเน็ตอีกต่อไป ถ้าหากคุณสามารถเล่นกีตาร์โดยไม่ต้องมานั่งหาคอร์ดได้ แสดงว่าคุณจะการันตีเหมือนได้รับปริญญากลายๆ แล้ว เอาล่ะมาลองดูวิธีที่เราจะมาบอกเป็นไอเดียแก่ทุกๆ คนกันครับ
คำเตือน เมื่อเราสามารถที่จะจับคอร์ดเป็นแล้วพยายามหาทางทำความเข้าใจหลักการ ของมัน การใช้เพื่อแตกไปสู่การสร้างดนตรีจริงๆ คอร์ดเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในการเติมจินตนาการ ให้กับเสียงเพลงของเรา
ใน 4เฟร็ต แรก
ใน 4 เฟร็ตแรกเป็นพื้นที่ที่เราจะใช้ฝึกจับคอร์ดอยู่แล้วในเบื้องต้น ในคอร์ดพื้นฐาน ในคีย์ง่ายๆ เป็นสิ่งที่เราใช้ฝึกกัน พวกคอร์ดพื้นฐานเหล่านี้ แม้จะอยู่ต้นคอแต่เวลาจับจะใช้แรงไม่ได้เยอะมาก ถัดมาก็คือมันจะเป็นพื้นฐานแรกของการเปลี่ยนนิ้วข้ามสาย ซึ่งทุกคนก็ต้องเริ่มจากจุดนี้ทั้งนั้นไม่มียกเว้น
Ex.1 เป็นกลุ่มคอร์ดในคีย์ C Major ที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว จะมีพวกคอร์ด F คอร์ด G ที่จะดูจับยากกว่าคอร์ดอื่น แน่นอน มันเป็นอะไรที่ทุกๆ คนเห็นเป็นหมื่นๆ ครั้ง แต่คอร์ดเบสิกใน 4 คอร์ด ในช่วงไม่เกิน 4 เฟร็ตนี่แหละ สร้างมือกีตาร์มานับล้านแล้ว ดังนั้นพยายามเล่นให้คล่องตัวนะครับ
Ex.2 คอร์ดในคีย์ D ชุดนี้ก็เช่นกันเป็นคอร์ดมาตรฐานที่เราเห็นกันอยู่เสมอๆ แต่เราจะเห็นบางคอร์ด อย่าง Bm ที่เราจะต้องมีการทาบนิ้วแล้ว แต่หลังจากผ่านไป 2 ตัวอย่าง ถ้าคุณเป็นมือกีตาร์ที่ฝึกเล่นใหม่ๆ อย่างน้อยก็จะได้คอร์ดในโซน 4 เฟร็ตแรก 6-7 คอร์ดล่ะ
Ex.3 คราวนี้ ลองมาดูใน 4 คอร์ดของคีย์ E บ้าง เราจะเริ่มเห็นคอร์ดที่เป็นพวก Open String บ้างแล้ว อย่าง E หรือ A และคอร์ดทาบอย่าง F#m หรือ B ที่ต้องใช้นิ้วอื่นที่ไม่ใช้นิ้วชี้ในการทาบ ใน 3 ตัวอย่างนี้ก็คือ พื้นฐานการจับคอร์ดใน 3-4 เฟร็ตแรก
หลังเฟร็ต 5
สิ่งที่ยากสำหรับเฟร็ตที่ 5 เป็นต้นไปคือคอร์ดที่ต้องใช้บาร์คอร์ดมากขึ้น และต้องใช้นิ้วทั้งหมดในการจับคอร์ด
Ex.4 ในตัวอย่างนี้เราจะเห็นว่าคอร์ดอย่าง F หรือ Dm ในเฟร็ตลึกๆ เราจะต้องมีกลุ่มนิ้วไว้ยึดเป็นหลัก และมีการเปลี่ยนนิ้วมากมาย ซึ่งถ้าฝึกตรงจุดนี้อย่างช้าๆ จนคล่อง จะทำให้จับคอร์ดได้มากขึ้น
Ex.5 ส่วนในตัวอย่างนี้เป็นการต่อยอดจากตัวอย่างที่ 4 นั่นคือเมื่อเราจับคอร์ดได้คล่องแล้ว เราสามารถยึดกลุ่มนิ้วบางนิ้วเป็นหลักแล้วเปลี่ยนตัวเริ่ม Root เอาได้โดยไม่ต้องไปย้ายคอร์ด หรือ หาคอร์ดที่มันไกลจากโซนนี้มากจนเกินไป
แนวตั้ง-แนวนอน
นอกจากการกำหนด Zone แล้ว ลองมาคิแบบ แนวตัง แนวนอนดูครับ เราจะเห็นพวกทิศทางของเมโลดี้ง่ายขึ้นอีกด้วย
Ex.6 ลองดูคอร์ดในคีย์ F ดู จากตรงนี้เราจะเห็นว่า เราจะเคลื่อนที่คอร์ดเป็นแนวนอน แล้วก็เล่นอยู่แค่ 4 สาย ลองดูรูปแบบการจับคอร์ด รูปคอร์ดพวกนี้ในอนาคตถ้าเราจำได้ คล่องจะต่อยอดเอาไปเล่นพวก Sweep Picking ได้
Ex.7 ลองคิดเป็นแนวตั้ง เราจะเห็นกลุ่มคอร์ด ที่เป็นโน้ต 3-4 ตัว จากตรงนี้เราจะสามารถกำหนด Zone ไม่ให้เกิน 3-4 เฟร็ตก็ได้
Ex.8 คราวนี้ลองมองให้แตกต่าง ก็คือใช้เป็นแนวเฉียง ถ้าเราคล่องในการจับคอร์ดในแนวเฉียงได้ ก็จะสามารถต่อยอดไปเล่นพวกโซโล่ต่างๆ ในอนาคตได้ ซึ่งจากที่เห็น เราต้องจับคอร์ดในรูปแบบกำหนด Zone ของแบบฝึกที่ 1-5 ให้คล่องก่อนนะครับ