Guitar Man
วงดนตรีร็อคหนึ่งวง โดยปกติจะประกอบด้วย นักร้อง กีตาร์ เบส กลอง เอาล่ะตำแหน่งที่เป็นหน้าเป็นตาของวงก็ต้องเป็นนักร้องฟรอนท์แมน ที่เป็นกระบอกเสียง เป็นกระบอกสูบแฟนคลับด้วยเสียงร้อง บวกกับรูปลักษณ์ และตำแหน่งที่สูสีกับนักร้องล่ะ เชื่อว่าร้อยละกว่า 70-80 ก็คือมือกีตาร์ มือกีตาร์ในวงร็อคโดยบุคลิกแล้วล่ะก็มักจะเป็นคนที่ข้างมีความแปรปรวน ทั้งน่ารัก และน่าถีบในบางครั้ง ความมั่นใจที่ไม่เป็นรองนักร้อง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องรับแรงกระแทกจากภายนอกมากนัก และส่วนใหญ่มักจะมาในแนวชื่นชมซะด้วย ดังนั้นลักษณะนิสัยของมือกีตาร์วงร็อคสักวง มักจะไม่ใช่คนที่อยู่นิ่งๆ ได้สักเท่าไร เป็นคนดนตรีที่มักจะวิ่งเข้าหาสปอร์ตไลต์ เฉกเช่นเดียวกับนักร้อง
Silent
แต่สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะใช้ไม่ได้กับมือกีตาร์ผู้เงียบขรึมคนนี้ มือกีตาร์ที่เราจะนำเสนอในฉบับนี้เป็นมือกีตาร์ร็อคที่ฝีมือจัดจ้านสุดๆ จะใช้คำว่ากีตาร์ฮีโร่เบอร์หนึ่งของ genie ก็ดูจะไม่เกินไปสำหรับเขาคนนี้ เพียงแต่ถ้าให้คนทั่วไปนึกถึงมือกีตาร์เก่งๆ ของ genie สักคน ชื่อของเขาอาจจะไม่ชื่อแรกซึ่งมันดูสวนทางกับฝีมือเขาคนนี้ค่อนข้างมาก หนึ่งในมือกีตาร์ที่ชอบหลบอยู่ในมุมสลัวๆ แต่เสียงกีตาร์ ที่ผ่านแอมป์ยามที่ต้องโซโล่ ถ้าคนที่ไปดูใช้หูในการฟังมากกว่าการดู มันมักจะทะลุอากกาศออกมาจนทำให้หลายคนตกใจและต้องหันไปสนใจที่มุมมืดๆ นั้น มือกีตาร์ผู้เงียบขรึม จอมยุทธ์แห่งเงามืดผู้นี้จะเป็นใครปไม่ได้นอกจาก บิ๊ก Paradox นั่นเอง
Behind The Madness
Paradox คือวงดนตรีศูนย์รวมความบ้าคลั่ง บ้าบิ่น เพี้ยน ตลก ฮา ซึ่งเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ต้น ถ้าเรามองแบบคนดนตรีซีเรียสๆ ด้วยรูปลักษณ์ของดนตรีแบบนี้เราอาจจะมองว่า Paradox เป็นวงดนตรีธรรมดา ไม่มีอะไร แต่อย่างที่กล่าวข้างต้น เสียงกีตาร์โซโล่ที่อยู่เบื้องหลังความบ้าคลั่งเหล่านั้น มันเป็นเทคนิคแบบที่มือกีตาร์ฮีโร่ที่ต้องมีสกิลในระดับที่สูงพอสมควรเท่านั้นถึงจะเล่นออกมาได้ ด้วยเหตุนี้วง Paradox จึงเป็นขวัญใจของคนชอบดนตรีทุกกลุ่ม กลายเป็นวงที่มีอิสระสูงสุดในการทำงาน และหลังจากเพลง ความเชื่อในเวอร์ชั่น g16 เป็นต้นมา คนที่มารู้ความจริงที่หลังว่ามือกีตาร์ที่โซโล่ในเพลงนี้ คือ บิ๊ก Paradox ทำให้พี่บิ๊กกลายเป็นขวัญใจชาวกีตาร์อีกคนในบ้านเราไปโดยปริยาย
Instrument Of บิ๊ก Paradox
อุปกรณ์ดนตรีของ บิ๊ก Paradox ก็เรียบง่ายเหมือนกับ ไลฟ์สไตล์ของเค้า เป็นคนที่ใช้กีตาร์ไม่ตายตัว และใช้อยู่หลายแบรนด์ทั้งแอมป์ กีตาร์ หรือเอฟเฟ็กต์ ใช้ทั้งตู้ และบางครั้งก็เป็นพวก Multi Effect Processor ต่างๆ แต่เคล็ดลับอย่างนึงก็เขาคือจะเปิดเสียงแตกจากเอฟเฟ็กต์ไว้ แล้วเวลาเล่นเสียงคลีน จะปรับลด Volume ที่ตัวกีตาร์เอา และแอมป์ที่ใช้แบบที่ไม่มีเสียงแตกในตัวใช้เสียงแตกต่างๆ จากภาคเอฟเฟ็กต์เอา
Play
คราวนี้มาที่การเล่นกีตาร์สไตล์ บิ๊ก Paradox กัน อิทธิพลในการเล่นกีตาร์ของเขามาจากพวกมือกีตาร์สายฮีโร่ที่เห็นได้หลักๆ ก็คือ Paul Gilbert และ John Petrucci ดังนั้นพวกเทคนิคความเร็วต่างๆ เขาจะเล่นออกมาได้ค่อนข้างสะอาดและเคลียร์ รวมถึงมีลูกข้ามสายเยอะ กับการใช้ Scale และ Mode ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งมากๆ ในการเล่นของ บิ๊ก Paradox โซโล่หลายๆ เพลงของ Paradox จึงมีการใช้ Scale และ Mode ค่อนข้างหลากหลาย เราจะลองยกตัวอย่างมาให้ดูแล้วเราจะได้เห็นเลยว่ามือกีตาร์คนนี้ร้ายกาจขนาดไหน
เริ่มจากเพลงที่ฟังดูเรียบง่ายอย่าง The Game ตัวเพลงเป็นร็อคตรงๆ ไม่มีอะไรผสมแต่การใช้ Mode ในโซโล่นี้น่าสนใจ เริ่มจากตัวเพลงที่โทนน่าจะออกทาง Major แต่โซโล่ช่วงแรกจะใช้การเล่นในสเกล F Blues Scale ที่มีโทนออกไปทาง minor ผสมการดันสาย จากนั้นจะสับไปที่ F Mixolydian Mode ที่มีการเล่นทั้งดันสาย การเล่น Arpeggio ท่อน Run ท่อนสุดท้ายจะเป็นการเล่นข้ามสายผสมกับการเล่นแบบผสม Mode ซึ่งในท่อน Run สุดท้าย จะเป็นการใช้ในโน้ตจากทั้งใน F Blues, F Dorian และ F Mixolydian ผสมกันทั้งหมด โดยมี Tonal รวมเป็น F ซึ่งเป็นหลักการที่เรียกว่า Pitch Axis นั่นเอง
เราจะได้อะไร : เพลงนี้มีทางคอร์ดเป็นลักษณะที่เอื้อให้กับการเล่น Mode Mixolydian จำทางคอร์ดตอนโซโล่ไว้ นี่เป็น Mode ที่สามารถใช้เล่นได้เวลาเจอคอร์ดชุดนี้เป็นสไตล์ของเสียงโซโล่แบบร็อคยุค Vintage หน่อย เมื่อทำความคุ้นเคยกับโซโล่และซาวด์แบบนี้จะทำให้เวลาไปฟังเพลงแบบร็อคเก่าๆ จะเข้าใจถึง Scale ที่เขาใช้โซโล่เพื่อสร้างสีสันให้กับโซโล่สไตล์ Blues Rock
เพลงนี้การใช้ Scale จะไม่ได้หวือหวาเหมือนเพลงแรกเป็น Scale แบบ Major ธรรมดาเมโลดี้อยู่ใน E Major แต่อาจจะมีการผสมโน้ตจาก C Major เข้ามาบ้างที่น่าสนใจกว่าคือเทคนิคในการเล่น ที่มีการเล่นแบบ Hybrid Picking ในสไตล์ Eric Johnson ที่เอามาใช้ในท่อนนี้ กับการ Modulate คีย์เล็กน้อยได้ไลน์การเล่นที่สวยงาม หลังจากนั้นจะเป็นการ Run ด้วยการเล่น Legato และการใช้เทคนิค Tapping แบบ Double Tap เร็วๆ รวมถึงการ Tap และสไลด์ด้วย ปิดท้ายด้วยการเล่นเมโลดี้ใน Arpeggio ที่ผสมการเล่น Interval Slide เล็กน้อย
เราจะได้อะไร : เพลงนี้คือการแสดงให้เห็นเทคนิคการเล่นกีตาร์ในแบบหวือหวา ที่มือกีตาร์ฮีโร่หลายคนใช้ ทั้งการ Tapping ทั้งการใช้ Hybrid Picking ผนวกกับความรู้ในเรื่องของ Scale ต่างๆ ที่เอามาผสมในเทคนิคได้อย่างลงตัว เป็นตัวอย่างของการทำความเข้าใจทั้งเรื่องของทฤษฎี ทั้งการเล่น แน่นอนมันอาจจะต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ ถ้าใช้เป็นก็จะสร้างความแตกต่างตอนโซโล่ได้เลย
เพลงชื่อแปลกๆ แบบนี้ย่อมมีอะไรซ่อนอยู่แน่นอนถ้าเป็น Paradox ล่ะก็ ชื่อเพลงที่ออกแขกๆ แบบนี้ก็เป็นโอกาสที่ทำให้ได้เล่น Scale ใน โทน minor ซึ่งในเพลงนี้เป็นการโซโล่ในโทนรวมที่เป็น D และใช้ D Spanish Phrygian Mode ซึ่งเป็น Mode ที่ 5 ของ G Harmonic minor ซึ่งเป็นเมโลดี้หลักของท่อนโซโล่นี้ และในท่อนสุดท้ายเป็น Lick ที่ผสมกับ Chromatic และการข้ามสาย และจบด้วยการ Run Scale ด้วยการใช้ Lick ใน D Dorian Blues Scale
เราจะได้อะไร : หลังจากที่เห็นไปแล้วทั้ง 3 เพลง รวมถึงเพลงนี้จะเห็นว่า การใช้ทั้ง Scale และเทคนิคของ บิ๊ก Paradox นั้นไม่ธรรมดา อย่างเพลงนี้ทำให้เราได้รับรู้เสียง Mode ของ Harmonic minor ซึ่งทางนิ้วและเสียง อาจจะต้องทำความคุ้นเคยสักหน่อย ทุกเทคนิคและ Scale ลองฝึกกันและทำความคุ้นเคยกันอย่างช้าๆ จาก 3 เพลงเราจะเห็นว่ามีการใช้ Mode และ เทคนิคที่แตกต่างกัน เราจะได้เรียนรู้การเล่นในทางคอร์ด ที่ประสานกับ Mode ต่างๆ ผ่านการเล่นของมือกีตาร์ที่ชื่อว่า บิ๊ก Paradox