เราเชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินเสียงเครื่องดนตรีไม่ว่าจะเป็น กีตาร์ หรือ คียบอร์ด ต่างๆ นาๆ ที่พอเวลาเล่นออกมาจะได้ยินเสียงที่ฟังดูไทยๆ ฟังดูเอเซียหน่อย โดยเฉพาะในเพลงเพื่อ ชีวิต หรือลูกทุ่ง สเกลเสียงที่ทำให้มันเป็นแบบนั้นเรียกกันว่า Pentatonic Scale เป็นสเกลที่มีโน้ต 5 ตัว โดยตัดโน้ตในสเกล Major และ minor ออกสองตัว ทำให้เหลือเสียงของสเกล 5 เสียง และฟังออกมามีความเป็นเอเชีย สเกลนี้ถูกใช้ในเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตมาช้านาน กับอีกหนึ่งเทคนิคก็คือเทคนิคที่เรียกว่าการเล่น Octave เทคนิคนี้ถูกทำให้เป็นที่นิยมโดย Wes Montgomery มือกีตาร์ Jazz คือการเล่นโน้ตตัวเดียวกันที่อยู่ในคนละระดับเสียงกัน เล่นพร้อมกันทำให้เสียงเมโลดี้นั้นดูหนาขึ้น จนเป็นเทคนิคที่นิยม ไปถึงเพลงร็อค คราวนี้เมื่อเสียงดนตรีตะวันออก พบกับเทคนิคของตะวันตก จะออกมาเป็นยังไง เราจะขอยกตัวอย่างในเพลงอันโด่งดังของคาราบาว ที่ชื่อว่า เมดอินไทยแลนด์นั่นเอง
Ex.1 โน้ต Pentatonic
ในท่อน Intro เพลงนี้ จะถูกเล่นโดยสเกล D minor Pentatonic ซึ่งมีโน้ต อยู่ 5 ตัวนั่นก็คือ D F G A C ลองดูตำแหน่งโน้ตในสายต่างๆ และเมื่อมันอยู่บนระดับเสียงที่ต่างกัน จะออกมาเป็นอย่างไร เราจะเริ่มจากเมโลดี้ที่เสียงสูงก่อน
Ex.2 โน้ตที่ต่ำลง
คราวนี้ลองดู ใน D minor Pentatonic เหมือนกัน แต่ระดับเสียงต่างกัน ลองฟังเสียงและดูตำแหน่งของโน้ตในแต่ละสาย รวมถึงวิธีเล่นโน้ตแต่ละตัวด้วย ที่สำคัญจำตำแหน่งโน้ตให้ได้ก่อน ว่าเป็นโน้ตตัวไหน
Ex.3 Octave
คราวนี้ลองเล่นโน้ตทั้ง 2 ระดับเสียงพร้อมกัน โดยเสียงต่ำให้เล่นด้วยนิ้วชี้ และเสียงสูงให้เล่นโดยใช้นิ้วก้อย (หรือนิ้วนาง) โดยที่ตรงกลางให้อุดเสียง สายที่ไม่ได้เล่นไว้ โดยการวางนิ้วชี้เหมือนลักษณะ บาร์คอร์ดลงไปเบาๆ แล้วลองเคลื่อนที่ เป็นโน้ตในสเกล D minor Pentatonic ดู ฝึกช้าๆ ให้คล่องตัวก่อน
Ex.4 เพิ่มส่วนของโน้ตเข้าไป
ลองเล่นเมโลดี้ในเสียงสูงให้เป็นจังหวะ เหมือนในเพลง ลองสังเกตการเคลื่อนมือในการเปลี่ยน Position เพื่อจับโน้ตแต่ละตัว เราสามารถประยุกต์มาฝึกต่างหากเพื่อความแม่นยำในการจำตำแหน่งโน้ตและเสียงได้
Ex.5 เพิ่มส่วนโน้ตในเสียงต่ำ
เช่นเดียวกัน ในเสียงต่ำ ก็ลอง จำตำแหน่ง ลองเล่นเมโลดี้เป็นจังหวะ จำโทนเสียง ความหนาของเสียงที่ต่างจากสายเสียงสูงที่จะเสียงเล็กและแหลมกว่า เป็นการฝึกหูไปในตัวด้วย
Ex.6 เมดอินไทยแลนด์
ใน Intro นี้ จะใช้การเล่น เทคนิค Octave โดยใช้โน้ตในสเกล D minor Pentatonic เริ่มจากตัว F ก่อน แล้วไล่ขึ้นมาเรื่อยๆ โดยมีการเชื่อมด้วยเทคนิค ดีดแล้วสไลด์โน้ต ลองสังเกตการเปลี่ยน Position มือที่เล่น ส่วนโน้ตที่เป็นเขบ็ตหนึ่งชั้น เขบ็ตสองชั้น จังหวะยกต่างๆ ลองเล่นกับเพลงจริงๆ ดู แล้วจะเข้าใจเสียงของ Pentatonic และเทคนิค Octave