หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องของ “ดนตรีบำบัด” กันมาบ้างแล้ว จากงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า ดนตรีมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายเรื่อง ทั้งลดความเจ็บปวด ลดความเครียด นอนไม่หลับ ตลอดจนควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจได้เลยทีเดียว การบำบัด คือ การรักษาโรคอย่างหนึ่งของผู้ป่วยทางจิต ดนตรีบำบัดหรือดุริยางค์บำบัด เป็นการวางแผนในการใช้กิจกรรม การรักษา โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อควบคุม ในกลุ่มผู้ป่วยทางจิตไม่ว่าจะเป็นเด็กจนไปถึงผู้สูงอายุที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้เกิดการบรรลุในการรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดจากความบกพร่อง เช่น ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ ร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา กับ 7 ความมหัศจรรย์ของดนตรีบำบัด มีอะไรกันบ้างไปดูกันครับ
1.ลดความเจ็บปวด
คนไข้ที่เกิดอุบัติเหตุสาหัส หรือการผ่าตัด จะมีความเจ็บปวดของบาดแผลสูง เมื่อได้ฟังดนตรีบำบัดจะลดอาการเจ็บปวดและการใช้ยาแก้ปวดน้อยลง
2.ทำให้เลือดลมดี
การฟังเพลงที่ค่อยๆเพิ่มความดังที่ละน้อย ทำให้เส้นเลือดขยาย เลือดลมเดินสะดวก เพราะดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ร่างกาย และจิตใจ
3.ควบคุมการหายใจ
การฟังเพลงที่มีจังหวะเร็วทำให้อัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจ และความดันเลือดเพิ่มขึ้น ตามจังหวะเพลง แต่พูดถึงดนตรีบำบัด ควรใช้เพลงที่มีจังหวะดนตรีที่เหมาะสม ควรมีจังหวะ 70-80 ครั้ง/นาที
4.ช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว
วิจัยของดนตรีบำบัดที่ช่วยในเรื่องของการฟื้นตัว เปิดเผยว่า เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด สามารถลดจำนวนวันที่อยู่ในตู้อบและเพิ่มน้ำหนักตัวของเด็กทารกได้
5.ชะลอความชรา
ดนตรีช่วยสร้างโกรทฮอร์โมน โกรทฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนที่หลั่งมาจากต่อมไร้ท่อ สร้างมากต่อมพิทูอิทารีภายใต้สมอง หรือที่รู้จักกันดีในฉายาว่า “น้ำพุแห่งความหนุ่มสาว” มีการศึกษาพบว่านักดนตรีวัย 45-65 ปี มีความจำและประสาทการฟังดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่น ลดความเครียดชะลอชราได้
6.โรคซึมเศร้า
ช่วยลดความเครียด ความกังวล และไม่อยากอาหารของผู้ป่วยได้ สำหรับการฟังเพลงที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้านั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ควรใช้เพลงบำบัดที่ถูกและเหมาะสมกับผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์สูง หากไปฟังเพลงที่ให้ความรู้สึกเศร้ากระทบจิตใจมากๆ จะทำให้ผู้ป่วยควบคุมสติไม่ได้จนถึงเหตุการณ์ฆ่าตัวตายได้
7.กระตุ้นสมอง
การฟังดนตรีช่วยกระตุ้นสมองส่วนฮิปโปแคมปัส เพิ่มประสิทธิภาพในส่วนความจำระยะยาวของสมองดนตรีบำบัด เป็นการนำศาสตร์แห่งศิลปะมาประยุกต์ใช้ในเชิงการรักษา ซึ่งนับเป็นการค้นคว้าที่น่าสนใจถึงประสิทธิผลทางการรักษา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยในปัจจุบันยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าดนตรี และเสียงเพลงสามารถส่งผลทางการรักษาโรคได้จริง ดังนั้น การดูแลสุขภาพถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทั้งเรื่องอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และมั่นออกกำลังกายทุกวันเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง