หลังจากที่เราได้รู้เกี่ยวกับโครงสร้าง Scale ในขั้นพื้นฐานทั้งMajor, minorรวมถึงวิธีการไล่สเกลไปแล้ว สิ่งสำคัญลำดับต่อไปก็คือการรู้จัก Interval และ Triad ต่างๆ ทั้งในคีย์ Major และ minor ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสีสัน ความน่าสนใจ ให้กับบทเพลง หรือในการโซโล่ต่างๆ ซึ้งวันนี้เราจะมารู้จักกันกับ Intervalขั้นคู่กันก่อนครับ
Interval
ขั้นคู่ก็คือโน้ตตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปเล่นพร้อมกัน ซึ่งเมื่อโน้ต 2 ตัวเล่นพร้อมกันแล้วจะเกิดเป็นเสียงที่น่าสนใจมากขึ้น ซึ่งขั้นคู่ทั้งหมดมีชื่อเรียกดังนี้
- Perfect Unison (คู่1)
- minor Second (คู่2 ไมเนอร์)
- Major Second (คู่ 2 เมเจอร์)
- minor Third (คู่3 ไมเนอร์)
- Major Third (คู่3 เมเจอร์)
- Perfect Forth (คู่ 4 เฟอร์เฟกต์)
- Augmented Forth (Diminished Fifth) (คู่ 4 อ็อกเมนเต็ด หรือคู่ 5 ดิมมินิช แต่จะรู้จักกันติดปากว่า แฟล็ต 5)
- Perfect Fifth (คู่ 5 เฟอร์เฟกต์)
- minor Sixth (คู่ 6 ไมเนอร์)
- Major Sixth (คู่ 6 เมเจอร์)
- minor Seventh (คู่ 7 ไมเนอร์)
- Major Seventh (คู่ 7 เมเจอร์)
** (คู่ที่สำคัญมากๆ คือคู่ 3) **
ในหลักการและทฤษฎีนั้นการเรียนรู้เรื่องขั้นคู่นั้นมีหลายวิธีในหนังสือเล่มนี้อยากจะขอเสนอมุมมองในการทำความเข้าใจเรื่องขั้นคู่โดยควบคู่กับการเล่นกีตาร์จริงๆไปด้วยลองทำดังนี้
1.เริ่มจากการเลือกสเกล Major ขึ้นมาสเกลหนึ่งในตัวอย่างจะเป็น C Major Scale 2 Octave (Ex.1)
2.ดูว่ามีโน้ตอะไรบ้างในสเกลนั้นและลองเรียงลำดับเป็นตัวเลข (Ex.2) *โน้ตที่อยู่หลังตัว Octave ลงไปจะนับเป็นตัวที่ 8-9-10-11-12-13-14 ไปเรื่อยๆ ตามลำดับ แต่เต็มที่จะอยู่แค่ 14 ไม่เกินไปกว่านี้
3.จากข้อ 2 เราจะเห็นถึงตัวโน้ตและลำดับทั้งหมดในสเกล Major ลองเอาโน้ตทั้งหมดมาเล่นพร้อมกันกับตัว Root โดยให้ตัว Root อยู่เป็นเสียงต่ำ (อยู่ในสายกีตาร์เสียงต่ำ) ที่สุดแล้วเล่นตัวโน้ตอื่นคู่ไปด้วยทีละตัว (ลองหาตำแหน่งที่สามารถเล่นพร้อมกันได้) ลองสังเกตเสียงและวิธีเล่นกับขั้นคู่เหล่านี้ (Ex.3)
4.เมื่อเราแยกออกมาจะเห็นได้ว่าใน Major Scale มีโน้ตตัวไหนเป็นคู่อะไรบ้างให้จำทั้งตัวโน้ตที่เป็นคู่กันและเสียงของมันด้วย *ทั้งหมดที่แยกออกมาจะเป็นคู่ Major ทั้งหมด
5.หลังจากนั้นเราลองเทียบจากสเกลแบบ Chromatic ดูโครงสร้างของ Major Scale นั้น เราจะเห็นว่าระหว่างตัวที่ 1-2, 2-3, 4-5, 5-6, 6-7 พวกนี้จะห่างกัน 1 เสียง นั่นก็หมายความว่าระหว่างโน้ตเหล่านี้ก็จะยังมีโน้ตอยู่อีกถ้าเทียบจาก C Major Scale ก็จะยังมี C#(Db), D#(Eb), F#(Gb), G#(Ab), A#(Bb) ซึ่งโน้ตเหล่านี้เมื่อเอามาแยกเป็นขั้นคู่ก็จะได้ดังนี้ (4) ซึ่งขั้นคู่ที่แยกออกมาจะเป็นขั้นคู่ทางไมเนอร์ทั้งหมด และขั้นคู่ทั้งหมดถ้าเราเอา C เป็นโน้ตตัวหลักจะได้ดังนี้
C Perfect Unison = C
C minor Second (Or 9th) = C#(Db)
C Major Second (Or 9th) = D
C minor Third (Or 10th) = D#(Eb)
C Major Third (Or 10th) = E
C Perfect Forth (Or 11th) = F
C Augmented Forth (Diminished Fifth Or 11th) = F#(Gb)
C Perfect Fifth (Or 12th) = G
C minor Sixth (Or 13th) = G#(Ab)
C Major Sixth (Or 13th) = A
C minor Seventh (Or 14th) = A#(Bb)
C Major Seventh (Or 14th) = B